วันพุธที่ 3 กันยายน พ.ศ. 2551

ความรู้เรื่องโลหิต

ความรู้เรื่องโลหิต

ความรู้พื้นฐานเกี่ยวกับโลหิต
โลหิตเป็นอวัยวะชนิดหนึ่ง เป็นของเหลวสีแดงที่ไหลเวียนอยู่ภายในหลอดโลหิตทั่วร่างกาย โดยมีหัวใจทำหน้าที่สูบฉีดโลหิต อวัยวะสำคัญของร่างกายที่ทำหน้าที่สร้างเม็ดโลหิต ได้แก่ ไขกระดูก เช่น กระดูกหน้าอก กระดูกแขน กระดูกซี่โครง กระดูกเชิงกราน กระดูกไขสันหลัง เป็นต้น ในร่างกายมนุษย์ (ผู้ใหญ่) จะมีโลหิตประมาณ 4,000 - 5,000 ซี.ซี. หรือ ปริมาณตามน้ำหนักของแต่ละคน คิดโดยประมาณคือ 80 ซี.ซี. ต่อน้ำหนัก 1 กิดลกรัม
เม็ดโลหิตที่สร้างจากไขกระดูก มี 3 ชนิด คือ
1. เม็ดโลหิตแดง
2. เม็ดโลหิตขาว
3. เกร็ดโลหิต

โลหิตแบ่งได้ 2 ส่วน คือ
1. ส่วนของเม็ดโลหิต
2. ส่วนพลาสม่า (Plasma)1. ส่วนของเม็ดโลหิต มีประมาณ 45 เปอร์เซนต์ ของโลหิตทั้งหมด
เม็ดโลหิตแดง มีหน้าที่ในการลำเลียงอ๊อกซิเจนไปให้เซลส์อวัยวะต่าง ๆ ใช้สันดาบ อาหารเป็นพลังงาน อายุการทำงานของเม็ดโลหิตแดง ประมาณ 120 วัน
เม็ดโลหิตขาว มีหน้าที่ป้องกันและทำลายสิ่งแปลกปลอมที่เข้าสู่ร่างกาย
เกร็ดโลหิต มีหน้าที่ช่วยทำให้โลหิตแข็งตัว ตรงจุดที่มีการฉีดขาดของหลอดโลหิต2. พลาสม่า (Plasma) เป็นส่วนของเหลวของโลหิตที่ทำให้เม็ดโลหิตลอยตัว มีลักษณะเป็นน้ำเหลืองมีอยู่ประมาณ 55 เปอร์เซนต์ ของโลหิตทั้งหมดในร่างกาย
หน้าที่ของพลาสม่า
- ควบคุมความดัน และปริมาตรของโลหิต
- ป้องกันเลือดออก
- เป็นภูมิคุ้มกันโรคติดต่อที่จะเข้าสู่ร่างกาย
ส่วนพลาสม่าประกอบด้วย
1. ส่วนน้ำ ประมาณ 92 เปอร์เซนต์
2. ส่วนโปรตีน มีประมาณ 8 เปอร์เซนต์ โปรตีนส่วนนี้จะมีความสำคัญคือ
2.1 แอลบูมิน มีหน้าที่รักษาความสมดุลของน้ำในหลอดเลือด และเนื้อเยื่อ
2.2 อินมูโนโกลบูลิน มีหน้าที่เป็นภูมิคุ้มกันโรคติดต่อต่าง ๆ ที่จะเข้าสู่ร่างกาย

ประเภทของโลหิต โลหิตของมนุษย์สามารถแบ่งออกเป็น 2 กลุ่มใหญ่ ดังนี้
1. หมู่โลหิตระบบ ABO
2. หมู่โลหิตระบบ Rh1. หมู่โลหิตระบบ ABO
หมู่โลหิตเริ่มค้นพบใน คศ. 1900 โดย Karl Landsteiner พบหมู่โลหิต A, B, และ O ส่วนหมู่โลหิต AB พบโดย Von Decastello และ Sturli ในปี คศ. 1902
สถิติหมู่โลหิต ABO ของคนไทย มีดังนี้
หมู่โลหิต A 21.1 %
หมู่โลหิต B 34.0 %
หมู่โลหิต O 37.6 %
หมู่โลหิต AB 7.3 %

ไม่มีความคิดเห็น: