วันอังคารที่ 2 กันยายน พ.ศ. 2551

การผลิตไฟฟ้าจากขยะ

การผลิตไฟฟ้าจากขยะ


ทุกๆปีชาวอเมริกันทิ้งขยะรวมกันเป็นน้ำหนักถึง 250 ตัน นครนิวยอร์กแห่งเดียวทำให้เกิดขยะถึง10ล้านตัน/ปี มีผู้ประเมินว่าปริมาณขยะของสหรัฐสามารถให้พลังงานได้เท่ากับถ่านหิน 100 ล้านตัน แต่ขยะส่วนมากถูกฝังและไม่ได้ใช้ทำประโยชน์
ในปริมาณขยะจากบ้านทุกหลังในโลกประกอบด้วยกระดาษถึง ½ ขยะในครัว ¼ พลาสติกไม่ถึง 1/10 และมีขยะที่ไม่ติดไฟอยู่1/5 ขยะส่วนมากนำมาแปรรูปใช้ประโยชน์ใหม่ได้

มีโรงงานเผาขยะเพื่อผลิตกระแสไฟฟ้าเกือบ 350 แห่ง ส่วนใหญ่อยู่ในยุโรปและญี่ปุ่น โรงเผาขยะขนาดใหญ่ที่เอ็ดมอนตันในลอนดอนซึ่งเปิดใช้งานเมื่อปี ค.ศ. 1974 นั้น เผาขยะได้ประมาณ 400000 ตัน/ปี ความร้อนจากการเปาขยะใช้ต้มน้ำให้เดือดเป็นไอเพื่อไปเดินเครื่องกำเนิดไฟฟ้า ภายใน 10 ปี โรงงานแห่งนี้สามารถประหยัดถ่านหินได้ถึง 1 ล้านตัน โรงงานเผาขยะเช่นนี้ 6 โรงที่เมืองดุสเซลดอร์ฟในเยอรมนี สามารถผลิตไฟฟ้าที่ใช้ในระบบทำความร้อนทั่วทั้งเขต ส่วนที่พีกสคิลล์ในนิวยอร์ก มีโรงเผาขยะที่เผาได้ถึง 2250ตัน/วัน ซึ่งผลิตกระแสไฟฟ้าได้ถึง 60 เมกะวัตต์ เพียงพอบริการผู้ใช้ 70000 คน
โรงงานอุตสาหกรรมก็อาจใช้ขยะแทนถ่านหินหรือน้ำมันก็ได้ โดยต้องนำขยะมาผ่านกระบวนการที่เหมาะสมก่อน


กระบวนการขั้นแรกคือ การแยกขยะโดยป้อนขยะผ่านตะแกรงร่อนเพื่อนแยกกรองเอาสารอินทรีย์ชิ้นเล็กๆออกมา และนำไปทำปุ๋ยใส่ดินต่อไปในประเทศสวีเดนเขาจะนำ ¼ ของขยะแห้งมาทำเป็นปุ๋ยและนำไปผ่านกระบวนการแปรรูปเพื่อนำมาใช้ประโยชน์
ขั้นต่อไปคือนำขยะหนักซึ่งส่วนใหญ่จะเป็นโลหะไปแยกออกต่างหาก ขยะที่เหลือจะเป็นเศษกระดาษและเศษผ้าเป็นส่วนใหญ่ เอาส่วนนี้นำมาอัดเป็นเม็ดรูปทรงกระบอกเพื่อใช้เป็นเชื้อเพลิง


แม้แต่ขยะที่ฝังกลบอยู่ก็อาจใช้เป็นเชื้อเพลิงได้ ขณะที่ขยะเริ่มเน่าจะเกิดแก๊สมีเธนซึ่งเป็นสารชนิดเดัยวกับแก๊สธรรมชาติที่พบในโพรงใต้ผิวโลก ขยะแต่ละตันจะให้มีเทนได้มากกว่า 400 ลบ.ม. ถ้าปล่อยทิ้งแก๊สนี้ขึ้นมาสู่ผิวดินและลอยออกไป ซึ่งบางครั้งอาจทำให้เกิดระเบิดขึ้นแต่เราอาจหาทางเก็บแก๊สนี้ไว้โดยไม่ต้องลงทุนมากและนำไปใช้ให้ความร้อนหรือผลิตไฟฟ้าได้ขณะนี้มีโครงการเช่นนี้มากกว่า 140 โครงการใน 15 ประเทศ ซึ่งช่วยประหยัดถ่านหินไปได้มากกว่า 1ล้านตัน/ปี ตัวอย่างเช่นในอังกฤษมีการขุดยอดเนินดินที่ฝังขยะเพื่อนำแก๊สออกมาแล้วส่งตามท่อไปโรงงานทำอิฐเพื่อให้นำไปใช้แทนถ่านหิน
โรงงานอื่นๆที่นำแก๊สนี้มาใช้มักตั้งอยู่ที่แหล่งชยะและนำแก๊สมาใช้เป็นเชื้อเพลิงป้อนเครื่องจักรแบบง่ายๆ วิธีการนี้ทำให้สามารถใช้แก๊สได้ทั้งหมด ซึ่งดีกว่าการพยายามควบคุมปริมาณแก๊สที่ได้ให้มีพอเหมาะกับความต้องการของโรงงานซึ่งเปลี่ยนแปลงอยู่เสมอ


ในอนาคต อาจมีวิธีปรับปรุงการผลิตแก๊สจากเนินขยะให้ได้ผลดียิ่งขึ้น โดยอาศัยการ”เพาะ หว่าน” แบคทีเรียลงไปที่เนินขยะ แบคทีเรียบางสายพันธุ์สามารถสลายขยะได้เร็วกว่าสายพันธุ์อื่นหากผสมแบคทีเรียต่างๆอย่างเหมาะสมลงในเนิน ก็จะทำให้ได้แก๊สปริมาณสูงสุดเท่าที่จะเป็นไปได้

ไม่มีความคิดเห็น: