วันพฤหัสบดีที่ 21 สิงหาคม พ.ศ. 2551

การส่งเสริมสุขภาพจิต

การส่งเสริมสุขภาพจิตในระดับบุคคล

วิธีการที่จะส่งเสริมตัวเราให้มีสุขภาพจิตดี มีหลากหลายวีประกอบกันได้แก่
1. การรักษาสุขภาพกายให้แข็งแรงโดย

- ไม่ทำลายสุขภาพของตนเอง ด้วยการ ดื่มเหล้า สูบบุหรี่ กินยาบ้า หรือยาเสพติดอื่น ๆ
- ไม่ทำงานหักโยมเกินกำลัง
- หาเวลาสำหรับพักผ่อนบ้าง แม้ช่วงสั้น ๆ ก็ยังดี หรือทำงานเบาที่ชอบทำแล้วเกิดความสบายใจ อย่าลืมว่าความไม่เป็นโรคเป็นลาภอันประเสริฐ ถ้าร่างกายสุขสบายไม่เจ็บป่วย ไม่ต้องเสียเสียทองในการรักษาตัวก็ช่วยทำให้ใจสบายได้ในระดับหนึ่ง
2. ไม่เก็บตัว มีมนุษยสัมพันธ์ที่ดีกับเพื่อนบ้านอย่างเหมาะสม มีน้ำใจกับเพื่อนบ้าน ไม่ห่างเหินแต่ก็ไม่ใกล้ชิดถึงขนาดก้าวก่ายจนเกินไป ความมีน้ำใจเป็นวิธีการผูกมิตรและสร้างสัมพันธ์ไมตรีกับคนรอบ ข้างได้ดีสุด ทำให้ใคร ๆ ก็อยากคบหาสมาคมด้วย คนไม่แล้งน้ำใจจะไม่ขาดเพื่อนหรือรู้สึกโดดเดี่ยวนอกจาก นั้นควรพยายามเข้าร่วมกิจกรรมต่าง ๆ ในชุมชน
3. ฝึกให้มีอารมณ์ขันเป็นนิจ รู้จักพูดเล่น อย่าเคร่งเครียดเอาจริงเอาจังหรือทุ่มเทให้กับบางสิ่งบางอย่างจนหมดสิ้น หัดมองให้เป็นข้อดีในข้อเสีย ข้อเด่นในข้อด้อย และรู้จักหาความสุขได้ง่าย ๆ จากสิ่งรอบตัว
4. สนใจคนรอบข้าง อย่างสนใจแต่ตนเอง เพราะจะทำให้เห็นความทุกข์และรู้สึกสงสารตนเองมากขึ้น แต่การมองว่าคนอื่น ๆ ก็มีทุกข์เช่นกัน ไม่มีใครมีความสุขได้ตลอดเวลา จะทำให้มีความอดทนและมีกำลังที่จะยืนหยัดต่อสู้กับอุปสรรคต่าง ๆ ในชีวิต ที่ผ่านเข้ามาได้
5. ฝึกเป็นคนรู้จักให้อภัยแก่คนอื่นได้ง่าย พยายามเตือนสติตนเองไว้เสมอว่า ความอาฆาตเครียดแค้น เปรียบเสมือนไฟสุมอก และเป็นการสร้างความทุกข์ให้กับตนเองมีคำกล่าวว่า “ สะสมความเครียดแค้นย่อมเกิดภัย สะสมความรักใคร่ย่อมเกิดสุข ” ถ้ารักษาตัวเองก็จงรู้จักให้อภัยผู้อื่น
6. เมื่อมีความทุกขในขั้นแรกให้พยายามปลอบใจตนเอง หรือทำใจให้ว่าง พยายามหยุดคิดถึงเรื่องที่ทำให้ไม่สบายใจ แล้วนึกถึงสิ่งหรือประสบการณ์ที่เคยมีความสุข พอใจสงบลงจึงค่อยหวนคิดว่าสาเหตุของความทุกข์ใจ คืออะไร จะมีวิธีการแก้ไขได้อย่างไร หากไม่สามารถแก้ไขด้วยตัวเองได้ ควรใช้วิธีการปรับทุกข์กับคนใกล้ชิดที่ไว้วางใจ เช่น ญาติพี่น้องเพื่อนสนิท คู่สมรส
7. การทำตนให้เป็นประโยชน์แก่ผู้อื่นและสังคม จะด้วยการอุทิศแรงกาย หรือบริจาคทรัพย์สินแก่ผู้อื่นก็ตาม จะทำให้ตนเองมีคุณค่าและเกิดความภาคภูมิใจในตนเอง
8. การรู้จักทำบุญให้ทาน จะทำให้เกิดความรู้สึกอิ่มเอิบและสุขใจ เพราะคนเราย่อมอยู่ได้ด้วยความหวังความคาดหวังว่าทำดีได้ดี หรือผลบุญจะมีส่วนช่วยให้ชีวิตมีสุข ก็นับเป็นการสร้างความสุขทางใจได้อย่างหนึ่ง แต่ทั้งนี้การทำบุญต้องทำด้วยความรู้จักประมาณตน ทำเท่าที่สามารถทำได้ อย่างทำเกินตัวจนเกิดทุกข์ หรือกลายเป็นการเบียดเบียนตนเองและผู้อื่น การฝึกสมาธิ จะช่วยให้ใจสงบไม่ฟุ้งซ่าน ทำให้เกิดความมั่นคงทางจิตใจ ไม่หวั่นไหวง่าย นับเป็นวิธีการสร้างจิตใจให้แข็งแรงวิธีหนึ่ง



การส่งเสริมสุขภาพจิตในระดับครอบครัว

มีวิธีการง่าย ๆ ที่จะช่วยเสริมสร้างความสุขในครัวเรือน และสรรค์สร้างสุขภาพจิตของคนในครอบครัว ได้แก่
1. การร่วมรับประทานอาหาร อย่างพร้อมหน้าพร้อมตากัน ในช่วงรับประทานอาหารควรเป็นช่วงที่ทุก คนใน บ้านควรมีความสบายใจ และได้มาอยู่ร่วมกันก่อนที่จะออกจากบ้านไปทำงานทำการ หรือหลังจาก เหน็ด เหนื่อยจากการเรียน การทำงานมาแล้วทั้งวัน
2. การพูดจากันด้วยความนุ่มนวลเห็นอกเห็นใจกัน มีการถามทุกข์สุขกัน รู้จักพูดคุยเล่นเย้าหยอกหรือเล่า เรื่องราวสู่กันฟัง
3. การมีน้ำใจต่อสมาชิกในครอบครัว เช่น การช่วยเหลือเมื่อเห็นอีกฝ่ายทำงาน แม้ว่าจะเป็นงานบ้านเล็ก ๆ น้อย ๆ การช่วยกันทำงานจะทำให้งานเสร็จเร็ว และมีเวลาที่จะพูดคุยกัน หรือมีเวลาที่จะพักผ่อนมากขึ้น
4. การบ่นจะทำให้คนรอบข้างเบื่อหน่าย ดังนั้น หยุดบ่นสักนิด เพื่อสุขภาพจิตคนรอบข้าง
5. ละอบายมุขต่าง ๆ เช่น เล่นการพนัน เล่นไพ่ ชนไก่ ดื่มสุรา เที่ยวกลางคืน ไม่ควรหาทางออกด้วยวิธีการ เหล่านี้ เมื่อมีทุกข์ เพราะจะกลายเป็นทางออกที่ติดเป็นนิสัย อบายมุขเหล่านี้มีแต่ทางเสีย คือ เสียเงิน เสียสุขภาพ เสียอารมณ์ ซึ่งเป็นสิ่งที่จะทำลายทั้งตนเองและครอบครัวในที่สุด

ไม่มีความคิดเห็น: